วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ตลาดร้อยปีสามชุก

ตลาดร้อยปีสามชุก
เดิมที . . . "ตลาดสามชุก" เป็นตลาดเก่าแก่ที่ใช้ในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต มานานกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อเส้นทางการจราจรทางบกเข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ คนมาใช้บริการเส้นทางบกหันหลังให้กับเส้นทางน้ำอย่างแม่น้ำท่าจีน ทำให้ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำจึงเริ่มลดลง บรรยากาศการค้าขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
ประวัติความเป็นมา
ที่มาที่ไป ของตลาดสามชุกความ เป็นมาของตลาดสามชุก ตลาดร้อยปี เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาด สามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือต่อ มาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์” ช่วง เวลาเฟื่องฟูของตลาดสามชุกกินเวลานานหลายสิบปี แต่หลังจากที่มีการตัดถนนผ่านสามชุก ผู้คนเปลี่ยนไปใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น ส่งผลให้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการค้าที่ตลาดสามชุกเริ่มซบเซา แต่ตลาดสามชุกก็ยังคงดำเนินวิถีของตลาดห้องแถวไปอย่างต่อเนื่องด้วย ความที่ วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้งบ้าน หลังนี้เป็นบ้านของขุนจำนง จีนารักษ์ ซึ่งเป็นนายภาษีอากรคนแรกและเป็นเจ้าของตลาดสามชุก ได้สร้างบ้านหลังนี้เมื่อ พ.ศ. 2459 ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนในครอบครัว รวมทั้งเป็นที่ต้อนรับและพักอาศัยของผู้หลักผู้ใหญ่และแขกบ้านแขกเมืองหลาย คนค่ะ”การเดินทาง สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก โทร. 0-3557-2449, 0-3550-4498 และ 0-1640-3327ยูเนสโก ได้ประกาศผลการประกวดโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและ แปซิฟิก ประจำปี 2552 มีสถานที่ส่งเข้าประกวดกว่า 48 แห่ง จาก 14 ประเทศโดยชุมชนสามชุก และ ตลาดเก่าร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี ของไทยได้รับรางวัลอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ประเภทดี มีอะไรให้ดู ให้เลือกซื้อที่ตลาด 100 ปี สิ่งที่ภูมิใจนำเสนอประการแรกคือ บ้านไม้แบบห้องแถวซึ่งมีทั้งชั้นเดียวและสองชั้น แต่ขอย้ำว่าเป็นบ้านไม้เก่าแต่มีเสน่ห์ดึงดูดผู้นิยมของคลาสสิกที่แม้จะมี อายุนับร้อยปี แต่ชาวตลาดสามชุกร่วมใจรักษาให้อยู่ในสภาพดี นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจของ สาธารณชน เมื่อดูบ้านเรือนทั่วๆไปแล้ว ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าต้องไปชมบ้านเก่าของนายอากรคนแรกของเมืองสามชุก ที่มีนามว่า ขุนจำนงค์จีนารักษ์ ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ประจำชุมชน บ้านหลังนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นบ้านไม้ 3 ชั้น ก่อสร้างอย่างประณีต ประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายอ่อนช้อย และมีรูปภาพโบราณที่บอกเล่าความเป็นมาของชุมชนสามชุกและมีการนำข้าวของ เครื่องใช้ของเจ้าของบ้านมาจัดแสดงให้ชมด้วย พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์ไม่เก็บค่าเข้าชม แต่รับบริจาคตามแต่ศรัทธา หลายคนไปที่นี่แล้วต้องไปถ่ายรูปแบบคลาสสิกที่ร้านศิลป์ธรรมชาติ บางคนขอลองไปทำฟันปลอม บ้างก็ไปหาซื้อนาฬิกา ซื้อทองรูปพรรณ และบางคนขอแวะไปนอนที่โรงแรมไม้คลาสสิกชื่ออุดมโชค เดินเที่ยวจนเหนื่อยและหิว ก็จะพาไปกินของอร่อยที่มีอยู่มากมาย เช่น บะหมี่เกี๊ยวเจ็กอ้าว ที่ทำเส้นบะหมี่เอง ร้านนี้เขาว่าขายมานานกว่า 70 ปีแล้ว หากอยากกินข้าวห่อใบบัว ก็ลองไปชิมที่ร้านหรั่งศรีโรจน์ อ้อ! อย่าลืมแวะชิมน้ำพริกแม่กิมลั้งด้วยนะ อร่อยจริงๆ แล้วอย่าลืมซื้อขนมไข่กลับไปฝากเพื่อนด้วยล่ะ ส่วนคอกาแฟก็ก็ต้องแวะไปที่ร้านกาแฟท่าเรือส่ง ฝีมือป้าชั่ง ป้าบอกว่าขายมาตั้งแต่สาวจนอายุ 70 ปีแล้ว บางคนก็ไปหาซื้อยาแผนโบราณในตลาดแห่งนี้ เพราะหลงเสน่ห์เครื่องบดยาและเครื่องหั่นยาแบบโบราณ ตลาดสามชุก อยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพฯ อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองสุพรรณฯ ไปสะดวกจริงๆ ขับรถไปเองก็ง่าย แค่ขับไปถึงเมืองสุพรรณฯก็จะเห็นป้ายตลาดสามชุกติดอยู่ทั่วไป ถามใครๆก็ได้รับรองไม่หลง หรือจะนั่งรถประจำทางไปก็ขึ้นได้ที่ทั้งขนส่งหมอชิตสองและที่ขนส่งสายใต้ ซื้อตัวไปอำเภอสามชุกเท่านั้นเอง รับรองถึงแน่ตลาดสามชุก, แผนที่ตลาดสามชุกตลาดร้อยปี, จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติ และความเป็นมา ตลาดสามชุก
“สามชุก เป็นเมืองเล็กๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดย ในอดีตสามชุกคือแหล่งที่ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ฯลฯ มามีสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะของการแลกเปลี่ยน และซื้อขายสินค้า จนพัฒนาไปสู่ การลงหลักปักฐาน สร้างเมืองที่มั่นคงขึ้นมาตาม ประวัติของเมืองสามชุก กล่าวไว้ว่า ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่ออำเภอ “นางบวช” ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลนางบวช โดยมีขุนพรมสภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอคนแรก ซึ่งต่อมาในปี 2457 ต้นรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายอำเภอมาตั้งที่บ้าน “สำเพ็ง” ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญในสมัยนั้น จนกระทั่งปี 2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “อำเภอนางบวช” มาเป็น “อำเภอสามชุก” และย้ายมาตั้ง อยู่ริมลำน้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผ่านคลอง มะขามเฒ่า
แต่เดิมบริเวณที่ตั้งอำเภอสามชุกเรียกว่า “ท่ายาง” มีชาวบ้านนำของป่าจากทิศตะวันตกมาค้าขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ บ้างก็มาจากทางเหนือ บ้างก็มาจากทางใต้ เป็น 3 สาย จึงเรียกบริเวณที่ค้าขายนี้ว่า “สามแพร่ง” ต่อมาได้เพี้ยน เป็น สามเพ็ง และสำเพ็งในที่สุด ดังปรากฎหลักฐานกล่าวไว้ใน
นิทานพื้นบ้านย่านสุพรรณมีเรื่องกล่าวต่อไปว่า ในระหว่างที่คนมารอขายสินค้าก็ได้ตัดไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย เรียกว่า “กระชุก” ชาวบ้านจึงเรียกว่า “สามชุก” มาถึงปัจจุบัน
อำเภอสามชุกเดิมมีพื้นที่ 774.9 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2528 ได้มีการตั้งอำเภอหนองหญ้าไซ จึงแบบบางส่วนออกไป ยังคงเหลือเพียง 362 ตารางกิโลเมตร

ตลาดสามชุก สุพรรณบุรี
ตลาดสามชุก เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้า ขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่
จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นเครื่องมือการพัฒนาอาคารไม้เก่าแก่ ในตลาดสามชุก ที่ก่อสร้างเป็นแนวตั้งฉากกับแม่น้ำท่าจีน เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะของตลาดจีนโบราณ เป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน ลวดลายฉลุไม้ที่เรียกว่าลายขนมปังขิง ซึ่งเท่าที่พบในตลาดนี้มีถึง 19 ลาย คือ ศิลปะตกแต่งอาคารไม้โบราณ ที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน หากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ก็ย่อมสูญหายไปเช่นเดียวกับตลาดโบราณอื่นๆนอก จากสถาปัตยกรรม อาคารไม้โบราณที่พบเห็นได้ตลอดแนวทางเดิน 2 ข้างทางเดินในตลาด วิถีชีวิตบรรยากาศภายในตลาดการค้าขายที่ยังคงรักษาวิถีแบบดั้งเดิมเช่นใน อดีต และบรรยากาศน้ำใจอัธยาศัยไมตรีของแม่ค้า ข้าวของเครื่องใช้ ขนมอาหารที่นำมาตั้งขายในตลาด เป็นสิ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่จำลองมาเพื่อให้ผู้ชมได้ดูชั่วครั้งชั่วคราว แต่เหล่านี้คือ วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากอดีต บ่มเพาะมาเป็น 100 ปีนักท่องเที่ยวจะสามารถสัมผัสได้ ไม่รู้เบื่อ อิ่มตา อิ่มใจ อิ่มท้องอย่างไม่รู้ตัว และทำให้ตลาดสามชุก แห่งนี้ได้รับขนานนามว่าตลาด 100 ปี พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต
แผนที่ตลาดสามชุก หรือ สามชุกตลาดร้อยปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น